แชร์ลูกโซ่
แชร์ลูกโซ่คืออะไร
"แชร์ลูกโซ่" หมายถึง รูปแบบการดำเนินธุรกิจที่มุ่งประสงค์ เพื่อหารายได้จากการระดมทุนเป็นหลัก โดยมีการสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ในระยะเวลาอันสั้น โดยผู้ประกอบการมักอ้างถึงการนำเงินไปลงทุน ในรูปแบบต่างๆ ที่มีรายได้สูงเพียงพอ ที่จะปันรายได้แจกจ่ายผู้ร่วมธุรกิจ ได้อย่างทั่วถึง มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุนในระยะแรก ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นให้เกิดการชักจูงให้เข้าร่วมลงทุน แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจใด ๆที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กล่าวอ้างกับผู้ร่วมลงทุน แต่จะใช้วิธีการนำเงินลงทุนของสมาชิกใหม่หมุนเวียน มาจ่ายให้สมาชิกเก่า และเมื่อไม่สามารถหาสมาชิกใหม่มาลงทุนเพิ่มได้ ก็จะไม่มีเงินมาจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สัญญาไว้และในที่สุดก็ต้องปิดกิจการหนีไป การกระทำดังกล่าวถือเป็นการจัดคิวเงิน กล่าวคือ เป็นเพียงวิธีโยกย้ายเงิน ไม่ได้มีการนำไปลงทุนตามที่กล่าวอ้างแต่ประการใด ดังนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนที่นำมาจ่ายให้แก่ประชาชน ก็คือ เงินที่ประชาชนนำมาลงทุนนั่นเอง ซึ่งเราเรียกการกระทำดังกล่าวว่า "แชร์ลูกโซ่"
ลักษณะและรูปแบบวิธีการหลอกลวงของธุรกิจแชร์ลูกโซ่
1. มีการเก็บค่าสมัครสมาชิกเป็นจำนวนมาก และธุรกิจแชร์ลูกโซ่ไม่ได้ไม่เน้นการขายสินค้าแต่เน้นให้สร้างทีม
ให้หาสมาชิกและผู้ลงทุนรายใหม่ โดยหาสมาชิกได้มากเท่าไรก็จะได้ค่าตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น
2. ธุรกิจแชร์ลูกโซ่จะมีการอ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น อ้างว่าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการอ้างถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือน่าเชื่อถือว่าได้ร่วมลงทุนกับในธุรกิจด้วย หรือมีเงินทุนสนับสนุนซึ่งทำให้ธุรกิจมีความมั่นคง
3. ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ไม่ได้สนใจในการซื้อขายสินค้า แต่ใช้ลักษณะการหมุนเวียนเงิน (นำเงินจากผู้ร่วมลงทุนรายใหม่
มาจ่ายให้กับผู้ร่วมลงทุนรายเก่า) และสถานประกอบการจะมีที่ตั้งสำนักงานไม่มั่นคงถาวร เช่น เช่าตึกแถวคูหาที่ไม่มีอาคารเป็นของตัวเอง ทรัพย์สินมีค่าในสำนักงานมีน้อย แต่จะมีการตกแต่งภายในสถานประกอบการให้ดูน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้มาร่วมลงทุนด้วย
4. ในระยะแรกจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กล่าวอ้างจริง เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้มาร่วม
ลงทุนด้วยและธุรกิจแชร์ลูกโซ่จะมีการแสดงแผนการลงทุนให้ดู โดยทำให้เห็นว่าการลงทุนจะได้รับผลตอบแทนมหาศาล และมักจะหว่านล้อมให้ผู้ร่วมลงทุนรีบตัดสินใจลงทุน
5. ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ไม่ได้เน้นการซื้อขายสินค้าเป็นหลัก แต่เน้นการหมุนเวียนเงินโดยเป็นการนำเงินจากผู้ร่วมลงทุน
รายใหม่มาหมุนเวียนจ่ายให้กับผู้ร่วมลงทุนรายเก่าในลักษณะลูกโซ่
วิธีสังเกตลักษณะสินค้าที่จะเป็นแชร์ลูกโซ่
1. เงินค่าลงทุนเพื่อเริ่มแผนการธุรกิจมีจำนวนที่สูงมากอย่างไม่สมเหตุสมผล
2. ต้นทุนกับราคาปลายทางไม่สมเหตุสมผล
3. ผู้เข้าร่วมธุรกิจได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนหลักจากการหาผู้เข้าร่วมธุรกิจรายใหม่
4. ค่าตอบแทนมิได้มาจากการขายสินค้าหรือบริการ
5. ผู้เข้าร่วมธุรกิจถูกบังคับให้ซื้อสินค้ามากเกินไปอย่างไม่สมเหตุสมผล
6. แผนธุรกิจมิได้อนุญาตให้มีการคืนสินค้าที่ไม่ได้ใช้
ตัวอย่างสินค้าที่นิยมใช้ในการชักชวนเข้าร่วมลงทุน
- น้ำมัน
- นำเงินไปปล่อยกู้ต่อ
- ลงทุนในธุรกิจประเภทต่าง ๆ
- บัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน
- สัตว์เศรษฐกิจ เช่น นากหญ้า
- สินค้าเกษตร เช่น ไม้กฤษณา เป็นต้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานฉ้อโกง
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
มาตรา 4 เป็นการหลอกลวงประชาชนโดยให้ชักชวนให้ลงทุนโดยนำเงินหรือทรัพย์สิน และให้ไปชักชวนคนให้นำเงินมาลงทุนต่อไปเรื่อย ๆ ต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งอ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูง โดยผู้หลอกลวงมิได้นำเงิน ที่ได้มาไปประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมายเพียงแต่นำเงินที่ได้มาจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปหมุนเวียนจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนรายเก่า
มาตรา 5 เป็นความผิดเกี่ยวกับการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนมาสมัครสมาชิกและนำเงินมาลงทุน ตามลักษณะของมาตรา 4
มาตรา 12 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
|
ติดต่อ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ตู้ ปณ. 1359 ปณจ. บางรัก กรุงเทพฯ 10500 |
|
Phone 0-2169-7127 ถึง 36 Fax. 0-2618-3368 Email: 1359@mof.go.th |
|
|
|
@2013 Financial Crime Suppression Hotline 1359 |
|
|
เงินกู้ และ รองเท้าวิ่ง new balance