เกี่ยวกับ 1359 | รอมรั้วป้องกัน | |||
ประวัติความเป็นมา | รูปแบบธุรกิจนอกระบบ | |||
มาตรการป้องปราม | ||||
คณะอนุกรรมการ | การป้องกันตนเอง | |||
ส่วนกลาง | ขั้นตรวจสอบและดำเนินคดี | |||
ส่วนภูมิภาค |
![]() |
ประวัติความเป็นมา การเงินนอกระบบได้แฝงตัวทำอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมากระทรวงการคลังก็ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการป้องกัน และปราบปรามธุรกรรมประเภทนี้เท่าไรนัก เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นสังคมยังเข้าใจว่าเป็นเพียงการฉ้อโกงธรรมดา จึงเป็นงานหลักของกระทรวงมหาดไทยโดยเฉพาะตำรวจที่จะต้องจับกุมตัวผู้กระทำความผิดที่กระทำการฉ้อโกงมาดำเนินการตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต่อมาในระยะหลังสังคมเริ่มตระหนักว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเงินนอกระบบมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศค่อนข้างมากรัฐบาล จึงได้มีนโยบายมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นองค์กรหลักในการกำกับดูแลเกี่ยวกับการป้องปรามการเงินนอกระบบดังมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2527 ว่าให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันติดตามการระดมเงินนอก ระบบที่มีการดำเนินงานในลักษณะที่ไม่เปิดเผยอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีการกระทำผิด กฎหมายฉบับใดก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายทันที กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้ว เห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะควบคุม และหยุดยั้งการกระทำในลักษณะการระดมเงิน จากประชาชนที่ให้ผลประโยชน์ ตอบแทนสูง โดยผู้ประกอบการไม่สามารถให้คำชี้แจงได้ว่า ได้นำเงินที่ระดมมาไปลงทุนในกิจการใดได้ และแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการแสดงเจตนาในการลวงประชาชน หลงเชื่อโดยแท้ ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เท่าที่ผ่านมาก็ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐาน ที่จะดำเนินการกับผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ และโดยที่พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นอันตราย อย่างร้ายแรงต่อประโยชน์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องทั้งยังเป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมด้วยสมควรที่จะต้องห้ามปรามมิให้มีการประกอบกิจการเงินนอกระบบเสีย กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความร่วมมือของกระทรวงมหาดไทยจึงได้ร่วมกันพิจารณายกร่างกฎหมายเกี่ยวกับกิจการเงินอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจขึ้น พร้อมทั้งได้มอบหมายให้กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวง การคลัง เป็นหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวโดยให้มีอำนาจหน้าที่ ในการเสนอแนะนโยบาย มาตรการ ตรวจสอบ ติดตามการกระทำความผิดเกี่ยวกับธุรกิจการเงินนอกระบบ และดำเนินการเกี่ยวกับการป้องปรามการเงินนอกระบบ รวมทั้งให้เป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดอันเป็นอาชญากรรมทางการเงินเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งต้องมีเจ้าภาพรับผิดชอบอย่างจริงจัง และปฏิบัติงานในเชิงรุกได้อย่างคล่องตัว ร่างกฎหมายเกี่ยวกับกิจการเงินอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ในที่สุดได้กลายเป็นพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 อันเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษที่รัฐได้ออกใช้บังคับ เพื่อที่จะป้องปรามความผิดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้เสียหายดังที่ได้บัญญัติให้มี " พนักงานเจ้าหน้าที่ "เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามพระราชกำหนด ดังกล่าว และในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2532 อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบโดยมี ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ และมีผู้แทนจากส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เป็นกรรมการ ได้แก่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงาน อัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสรรพากร และกลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข มาตรการ และวิธีการเกี่ยวกับการป้องปรามการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบ และต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งอธิบดีกรมสอบสวนคดี พิเศษหรือผู้แทน เป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย จากการที่ธุรกิจการเงินนอกระบบได้แพร่ขยายเป็นวงกว้างออกไปสู่ภูมิภาค คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ ป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบในส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ อัยการจังหวัด คลังจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด พาณิชย์ จังหวัด สวัสดิการสังคมและแรงงานจังหวัด และสรรพากรพื้นที่จังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ควบคุม กำกับ ดูแล สืบสวนสอบสวน ติดตามประเมินผลและการพิจารณากลั่นกรองปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการ ประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบ ในส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด รวมถึงการปฏิบัติการของ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ตลอดจนดำเนินการตามที่คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบมอบหมายแล้วรายงานให้คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบพิจารณาต่อไปซึ่งคณะอนุกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบในส่วนภูมิภาคมีทุกจังหวัดทั่วประเทศ |
![]() |
ติดต่อ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ตู้ ปณ. 1359 ปณจ. บางรัก กรุงเทพฯ 10500 |
Phone 0-2169-7127 ถึง 36 Fax. 0-2618-3368 Email: 1359@mof.go.th |
||||
@2013 Financial Crime Suppression Hotline 1359 |